วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ุุบทที่6 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง การดำเนินการติดต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประกอบด้วย การค้า การลงทุน การเงิน

การรวมกลุ่มระหว่างประเทศ 
       การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่าง ๆ 
สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ 
1. ประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในด้านทรัพยากรธรรมชาติ 
2. ประเทศต่าง ๆ มีความสามารถในการผลิตไม่เหมือนกัน 
3. ประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ เช่น สภาพดิน สภาพอากาศ และภูมิประเทศต่างกัน
ประโยชน์การค้าระหว่างประเทศ 
1. เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ 
2. ทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำ 
3. เกิดการแข่งขันกันด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ
4. เกิดความชำนาญเฉพาะอย่างในการผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่อง


นโยบายการค้าระหว่างประเทศ 
1. นโยบายการค้าแบบเสรี 
นโยบายการค้าแบบเสรี หมายถึง นโยบายที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการค้าระหว่างประเทศแบบไม่มีข้อจำกัด เช่น ไม่มีการตั้งกำแพงภาษีขาเข้า ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า 
2. นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน หมายถึง นโยบายการค้าที่รัฐบาลมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อจำกัดการนำเข้าและส่งออก ของสินค้า เช่น การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดโควต้าการนำเข้าและส่งออก การสนับสนุนเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการผลิตสินค้าหลาย ๆ อย่างเพื่อใช้ภายในประเทศเอง


นโยบายการค้าของไทย 
1. นโยบายทดแทนการนำเข้า 

เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นในการผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศ เพื่อที่จะไม่ต้องพึ่งพาสินค้าจากต่างประเทศ 
2. นโยบายส่งเสริมการส่งออก
เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการส่งออกมากที่สุดและส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้


ภาวะการค้าต่างประเทศของไทย 

1. การส่งออก
ประเทศไทยเคยส่งออกข้าวและยางพาราเป็นสินค้าสำคัญ ปัจจุบันสินค้าที่ส่งออกสำคัญได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ,สิ่งทอ , อัญมณี , เครื่องประดับ เป็นต้น 
2. การนำเข้า 
ประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันการนำเข้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ได้แก่สินค้าประเภททุนและวัตถุดิบ 
3. ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
ในการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป อาเซียน ส่วนประเทศที่นำเข้าประเทศไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น


ดุลการค้าระหว่างประเทศ 
ดุลการการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าส่งออกกับมูลค่าสินค้านำเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี 

ประเภทของดุลการค้า 

1. ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าสินค้าส่งออกมากกว่าสินค้านำเข้า 
2. ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าสินค้าส่งออกน้อยกว่ามูลค่าสินค้านำเข้า 
3. ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าสินค้านำเข้าเท่ากับมูลค่าสินค้าส่งออก 

ดุลการชำระเงิน 
         ดุลการชำระเงิน หมายถึง บัญชีที่แสดงรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศภายในเวลา 1 ปี แบ่งเป็น 3 บัญชี คือ 
1. บัญชีเดินสะพัด< คือ บัญชีที่แสดงรายการรับ - จ่ายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ได้แก่ 
   - ดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าเข้าและมูลค่าสินค้าออก
   - ดุลบริการ คือ รายรับและรายจ่ายจากค่าขนส่ง บริการ ค่าประกันภัย เป็นต้น 
2. บัญชีเงินโอนและบริจาค เป็นบัญชีที่แสดงรายรับและรายจ่ายเกี่ยวกับเงินได้เปล่าของรัฐบาลและเอกชน 
3. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย เป็นบัญชีที่แสดงการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ 
4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นบัญชีแสดงยอดสุทธิระหว่างรายรับและรายจ่ายของประเทศ 

ลักษณะดุลการชำระเงิน 
1. ดุลการชำระเกินดุล หมายถึง รายรับมากกว่ารายจ่าย 
2. ดุลการชำระขาดดุล หมายถึง รายรับน้อยกว่ารายจ่าย 
3. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง รายรับเท่ากับรายจ่าย 

ความสำคัญของดุลการชำระเงิน และทุนสำรองระหว่างประเทศ 
1. มีผลต่อทุนสำรองระหว่างประเทศ คือถ้าดุลการชำระเกินดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ถ้าดุลการชำระขาดดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง 
2. ทุนสำรองระหว่างประเทศ ได้แก่ ทองคำ เงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือไว้ และทุนสำรอง I.M.F 

การแก้ไขดุลการชำระเงินขาดดุล

1. ลดการนำสินค้าเข้า 
2. ส่งเสริมให้มีสินค้าออกมากที่สุด 
3. ส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ 
4. ประชาชนไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 
5. ประชาชนไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 
6. ส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 
7. รัฐบาลควรลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 
8. กู้เงินจากต่างประเทศ


ปัญหาการค้าต่างประเทศของไทย 

       ปัญหาทางการค้าระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐอเมริกา คือ การกีดกันทางการค้า โดยสหรัฐอเมริกามีมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ 
- ห้ามการนำเข้า
- เพิ่มภาษีการนำเข้า 
- ตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (G.S.P) คือ สหรัฐอเมริกาให้สิทธิพิเศษในการลดหย่อนการเก็บภาษีการนำเข้าสหรัฐอเมริกาแก่ประเทศต่าง ๆ 
สหรัฐอเมริกาเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิพิเศษทางศุลกากร (G.S.P) ได้แก่ 
      1. ให้ปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า 
      2. ให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร เช่น คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ และสิทธิบัตรยา ซึ่งถ้ารัฐบาลไทยไม่ปฏิบัติตามจะมีผลต่อสิทธิพิเศษทางศุลกากร (G.S.P) 

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 
       อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง การเปรียบเทียบราคาของเงินตราประเทศหนึ่งกับเงินตราของอีกประเทศหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (I.M.F) ได้กำหนดไว้ ซึ่งจะมีผลต่อสินค้านำเข้า สินค้าส่งออก และดุลการค้าของประเทศ 
การลดค่าเงินบาทของไทย คือ เงินตราต่างประเทศแลกเงินไทยได้มากขึ้น เช่น 1 ดอลลาร์ 27 บาท เป็น 38 บาท 

ผลกระทบจากการลดค่าของเงิน
1. ราคาสินค้าไทยในต่างประเทศถูกลง 
2. ราคาสินค้าต่างประเทศในไทยสูงขึ้น 
3. คนต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มมากขึ้น 
4. คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศน้อยลง 
5. ชาวต่างประเทศมาลงทุนในไทยมากขึ้น 
6. ภาระหนี้สินของไทยกับต่างประเทศสูงขึ้น 

การเพิ่มค่าเงินบาท คือ เงินตราต่างประเทศแลกเงินไทยได้น้อยลง 
ผลกระทบจากการเพิ่มค่าของเงิน 
1. ราคาสินค้าของไทยในต่างประเทศสูงขึ้น 
2. ราคาสินค้าต่างประเทศในไทยถูกลง 
3. คนต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยน้อยลง 
4. คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น 
5. คนต่างประเทศมาลงทุนในไทยน้อยลง 
6. ภาระหนี้สินของไทยกับต่างประเทศลดลง


การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 
                การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ คือ การรวมตัวตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปเพื่อประสานผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระหว่างกลุ่มเดียวกัน แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 
     1. เขตการค้าเสรี หมายถึง ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกไม่มีการเก็บภาษีนำเข้า ไม่กำหนดโควตา แต่สามารถกำหนดอัตราภาษีแก่ประเทศที่ไม่เป็นสมาชิกได้ 
     2. สหภาพศุลกากร หมายถึง ประเทศสมาชิกเปิดการค้าเสรี แต่ประเทศนอกกลุ่มต้องตั้งกำแพงภาษีเหมือนกันหมด 
     3. ตลาดร่วม หมายถึง ประเทศสมาชิกทุกประเทศจะมีการเคลื่อนย้ายทุน สินค้า แรงงาน บริการ ได้โดยเสรี 
     4. สหภาพเศรษฐกิจ หมายถึง ประเทศสมาชิกต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจการค้า การลงทุน ร่วมกัน 
     5. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจแบบสมบูรณ์ หมายถึง การรวมตัวด้านการปกครอง เศรษฐกิจและการเมืองเหมือนกัน


การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
1. องค์การค้าโลก หรือ WTO 
       ได้พัฒนาขึ้นจากองค์การแกตต์ หรือข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดอุปสรรคทางด้านภาษีศุลกากรของการค้าระหว่างประเทศ 
2. เป็นเครื่องมือให้ประเทศภาคีสมาชิกปฏิบัติตาม 
3. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เจรจาไกล่เกลี่ยทางการค้าของประเทศภาคีสมาชิก ประเทศที่เป็นสมาชิกมีประมาณ 185 ประเทศ    ประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 87 
2. เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า (AFTA) 
        เป็นเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปลุ่มประเทศแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งขึ้น โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ของประเทศไทย 
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ประเทศสมาชิกลดอัตราภาษีสินค้าอุตสาหกรรมให้เหลือร้อยละ 0 - 5 ภายใน 15 ปี เริ่มจาก 1 มกราคม 2537 ถึง 1 มกราคม 2551 ประเทศสมาชิกประกอบด้วย อินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย 
3. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเซีย - แปซิฟิก หรือ เอเปค (APEC) 
       ก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการค้าเสรีและการลงทุนในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก 
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมการเปิดการค้าเสรีและการลงทุนในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิก สำหรับประเทศพัฒนาแล้วจะดำเนินการเปิดการค้าเสรีให้เสร็จในปี ค.ศ. 2010 และประเทศที่กำลังพัฒนาจะดำเนินการเปิดการค้าเสรีให้เสร็จในปี ค.ศ. 2020 
2. ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ เพื่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประเทศสมาชิกมีทั้งหมด 18 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงค์โปร มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี และไทย 
4. สหภาพยุโรป หรือ EU 
      เป็นการรวมตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เรียกว่า สหภาพยุโรป 
วัตถุประสงค์
ประชาคมยุโรป 15 ประเทศได้รวมตัวเป็นตลาดเดียว เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
- เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าของประเทศสมาชิกได้โดยเสรี 
- เพื่อประชากรของประเทศสมาชิกสามารถประกอบอาชีพข้ามชาติได้ เดินทางและตั้งถิ่นฐานต่างชาติได้ 
- มีการลงทุนในประเทศสมาชิกได้โดยเสรี 
- ใช้ระบบเงินสกุลเดียวกัน คือ เอกู ประเทศสมาชิกประกอบด้วย ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สเปน กรีซ โปรตุเกส สวีเดน ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย


บทที่ 5 นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจ

นโยบายการเงิน


นโยบายการเงินคือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ทำโดยการปรับลด-เพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่จะมีผลต่อการกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่า และการปรับลด-เพิ่มของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดทิศทางของการดำเนินนโยบายการเงิน

ทำไมต้องมีนโยบายการเงิน
เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ต่างก็ดำเนินนโยบายการเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ในยามที่เศรษฐกิจขาลง หรือตกต่ำ มีคนว่างงานจำนวนมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ก็จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นได้ ขณะที่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูง ๆ อันเนื่องมาจากขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงเกินไป จนการผลิตมีมากกว่าความต้องการบริโภคที่แท้จริง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจได้ในอนาคต เพราะสินค้าที่ผลิตมากเกิน อาจจะขายไม่ออกในเวลาต่อมา นโยบายการเงินก็จะดำเนินไปในแนวทางที่ตึงตัวขึ้นหรือหดตัว เพื่อลดความร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว

นโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary monetary policy) สามารถทำได้หลายวิธีได้แก่
การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (Reserve ratio) ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งหมายถึง เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ต้องฝากไว้กับธนาคารกลาง ซึ่งอาจกำหนดไว้ที่ร้อยละ 6 ซึ่งหมายถึงว่าหากธนาคารพาณิชย์รับเงินฝากจากประชาชนมา 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องฝากเงินสดสำรอง (Required reserve) ไว้ที่ธนาคารกลาง 6 บาท และเหลือเงินสดสำรองส่วนเกิน (Excess reserve) เพื่อปล่อยกู้ หรือลงทุนแสวงหากำไรอีก 94 บาท เป็นต้น ซึ่งหากมีการปรับลดอัตราเงินสดสำรองเหลือร้อยละ 3 ก็จะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสดสำรองส่วนเกินเพื่อปล่อยกู้ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้นเป็น 97 บาท เป็นต้น (เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อสร้างความเข้าใจง่ายๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว เงินสดสำรองส่วนเกินดังกล่าวยังจะต้องผ่านกระบวนการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อีกกระบวนการหนึ่ง โดยจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดในบทความต่อๆ ไป เมื่อมีโอกาส) ซึ่งเมื่อธนาคารพาณิชย์มีเงินสดสำรองส่วนเกินมากขึ้น และกลไกการปล่อยสินเชื่อทำได้เต็มที่ จะทำให้การบริโภคและการลงทุนปรับสูงขึ้น การจ้างงานก็ปรับสูงขึ้น และทำให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้

การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรของธนาคารกลางกับภาคเอกชน (Open market operation) การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางจะซื้อหลักทรัพย์จากภาคเอกชน เพื่อปล่อยเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการบริโภค การลงทุนและทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไป

การเปลี่ยนแปลงอัตราซื้อลด (Discount rate) คือ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์ การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัวจะทำโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งจะมีผลทำให้เงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น และทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

การขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตาม (Moral suasion) เช่น การขอให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทที่มีความสำคัญ เช่น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เป็นต้น

นโยบายการเงินแบบหดตัว (Contractionary monetary policy) ทำได้โดยการลดปริมาณเงิน ผ่านช่องทางการเพิ่มอัตราเงินสดสำรอง การขายหลักทรัพย์ให้แก่ภาคเอกชน และการเพิ่มอัตราซื้อลด ซึ่งจะเป็นการดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารกลางมักจะเลือกทำในยามที่ประเมินว่าเศรษฐกิจอาจจะร้อนแรงเกินไปจนอาจเกิดผลเสียตามมาในภายหลัง เช่นในช่วงที่เกิดฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัย หรือในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ ในประเทศ เป็นต้น

บทที่ 4 สหกรณ์

ทิศทางพัฒนาสหกรณ์ไทยในทศวรรษใหม่ ภายใต้แนวคิด "สมชาย ชาญณรงค์กุล"
"ขบวนการสหกรณ์" นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นแหล่งทุน แหล่งความรู้ แหล่งอาชีพและรายได้ของคนมากกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ ปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศจำนวนประมาณ 8 พันแห่ง โดยเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตรประมาณกว่าครึ่ง มีทุนดำเนินการสูงถึง 1.4 แสนล้านบาท ดัง นั้นจำเป็นที่กรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงชี้แนะแนวทางของ สหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมให้ถูกต้องตามหลักการสหกรณ์ นำมาสู่ความแข็งแกร่งของขบวนการสหกรณ์ไทยทั้งระบบ ควบคู่กับการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการสหกรณ์สู่สากล
   วันนี้...เราลองมาฟังนานาทัศนะในการพัฒนาและขับเคลื่อนขบวนการสหกรณ์ไทย ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ๆ เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจภายใต้โลกยุคใหม่ จาก"สมชาย ชาญณรงค์กุล" อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ หนุ่มใหญ่ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงอีกคนหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้นี้กันดู
ถึงแม้ว่าในช่วงปลายปี 2553 มีการตั้งเป็นกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอหลักๆ หรือยังตั้งอยู่ที่จังหวัด แต่กลุ่มหนึ่งมีเจ้าหน้าทีประมาณ 3 คน ดูแลครอบคลุมมากกว่า 1 อำเภอ หรือสูงถึง 5-6 อำเภอก็แล้วแต่เขตพื้นที่ การจัดอัตรากำลังแบบนี้ถ้าไม่มีระบบการทำงานที่ชัดเจน การทำงานโดยหวังให้เจ้าหน้าที่ทำงานมากขึ้นก็ไม่ได้เพราะมันไม่มีระบบ กระจุกกันอยู่ในอำเภอที่เป็นที่ตั้งของกลุ่ม
ช่วงท้ายปี 2554 ผมได้จัดระบบงานส่งเสริมสหกรณ์ขึ้นมาใหม่ โดยกำหนดรูปแบบการทำงานที่แน่นอน โปร่งใส ตรวจสอบ และวัดผลได้ มีการประเมินผลเป็นรายสหกรณ์ เรียกว่า CPD CARD นอกจากนี้ยังได้สร้างทีมครูฝึกที่เรียกว่า Trainer งานส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 108 คน จาก 27 จังหวัด ให้สามารถทำได้ตามระบบและเนื้อหาที่วิเคราะห์จริง เพื่อให้สหกรณ์ได้รับประโยชน์สูงสุด Trainer ทั้งหมดต้องลงไปปฏิบัติจริงในพื้นที่รับผิดขอบของตน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง จุดอ่อนของระบบที่ต้องปรับปรุง เพราะแต่ละสหกรณ์มีเงื่อนไข ข้อจำกัด และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ผมกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นวันดีเดย์ในการขยายผลไปทั่วประเทศ

บทที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจแบบพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้ 
"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"
          ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ  "เศรษฐกิจพอเพียง"  ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน  เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป  จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่  วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้   ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง"  จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ 
          ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ   การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม  ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน  เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน  ฯลฯ  บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้  เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก 
          เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ จิตวิญญาณคือ คุณค่ามากกว่า มูลค่า

          ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ คุณค่ามากกว่า มูลค่ามูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง คุณค่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุดและขจัดความสำคัญของ เงินในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

          การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ

          ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ บุคคลกับ ระบบและปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม

          การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎรในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน


          การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้ 

          1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
          2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
          3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้

          การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลกับ ระบบการผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ คุณค่าให้มากกว่า มูลค่าดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า

          “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…” 

          การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง คุณค่ามากกว่า มูลค่าจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลกับ ระบบเป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ

          ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่

          “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….”

          ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ

          ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า
          “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….”

          ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น

          ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร

          แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
          1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
          2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
          3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
          " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง " 
"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

บทที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน

บทที่ ๒

1.1ระบบเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน ผลดีและผลเสียของระบบเศรษฐกิจ

  1. ระบบเศรษฐกิจกับการจัดสรรทรัพยากรในประเทศ
    ตามแนวคิดหลัของเศรษฐศาสต์ที่เสนอว่า"ทรัพยากรมีจำกัด"เมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่ไร้ขีดจำกัด กล่าวคือ ทรัพยากรซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในโลกและเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องนำมาใช้เพื่อบำบัดความต้องการของตนนั้นมีขีดจำกัด ด้วยเหตุผลนี้ แต่ละประเทศที่มีประชาชนในประเทศเปนเจ้าของทรัยากรของประเทศร่วมกันนั้นต่่างต้องการที่จะนำทรัพยากรมาตอบสนองความต้องการของตนให้ได้มากที่สุด แต่เงื่อนไขที่สำคัญ คือ ทรัพยากรประเทศนั้นมีจำกัด รัฐบาลต้องทะหน้าที่ในการจักสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้กระจายไปยังประชาชนในประเทศอย่างทั่งถึงและเป็นธรรมดาที่สุด ด้วยการเลือกใช้ระบบเศรษฐกิจ มาจักสรรทรัพยากรและแก้ปัญหา

2.1การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต

    ความหมายของเศรษฐกิจ
คำว่า"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัวภูมิพลอดุลเดชมีพระราชดำรัชชี้แนะแนวการดำเนินชีวิตของพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดเป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในพ.ศ 2540 ภายหลังเมื่อได้ทรง้เน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพือให้ประชาชนรอดพ้นและสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ จากพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัวภูมิพลอดุลเดช ในวันที 18 กรกฎาคม พ.ส. 2517 ว่า
     "..การพั๖นาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับ ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน  ความพอมี พอใช้ ของประชาชนส่วนให่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานจากความมั่นคงพร้อมสมควร และปฏิบัติได้แร้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจิรญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...  "
 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย และอเมริกาใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 2 ใน 3 ของประชากรโลก ปะสบปัญหาความยากจนและความล้าหลังทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างค่ายเสรีนิยมประเทศต่างๆ เกิดความตื่นตัวที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อชีวิตความเป้นอยู่ของประชาชนดีขึ้น และประเทศไทยจึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง การชลปนะทาน การศึกาา มากยิ่งขึ้น ใน พ.ศ. 2493 มีการจัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับ้รื่องเศรษฐกิจของประเทศไทย ตามคำเชิญของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาทางการคลัง และทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการทำผังเศรษฐกิจของประเทศซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

บทที่ 1เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ เป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ กิจกรรมการผลิต การกระจายสินค้าและบริการต่างๆที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ กิจกรรม ทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน เพราะเราต่างก็คือผู้ผลิตและ/หรือ ผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์จึงมิใช่วิชาที่อยู่ไกลตัว หากเราได้ศึกษาและทำความเข้าใจกฎเกณฑ์และเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ไปตามลำดับขั้น ก็ย่อมจะเกิดความเข้าใจในสาขาวิชานี้ได้ไม่ยากนัก
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
โดยทั่วไปก่อนที่จะศึกษาอะไร สิ่งที่ผู้ศึกษาควรจะต้องทราบเป็นลำดับแรกก็คือสาขาวิชานั้นๆเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด สำหรับการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) ก็เช่นเดียวกัน มีผู้รู้ได้ให้คำนิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้มากมายหลายท่าน อาทิ
อัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึงความหมาย ของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้ในหนังสือ Principle of Economics ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ของมนุษย์ทั้งระดับบุคคลและสังคม ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อการดำรงชีพให้ได้รับความสุขสมบูรณ์
พอล แซมมวลสัน (Pual Samuelson) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ให้คำนิยามวิชาเศรษฐศาสตร์ว่าคือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่มนุษย์และสังคมจะโดยใช้เงินหรือไม่ก็ตาม ตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้าและบริการ และจำหน่ายจ่ายแจกสินค้า และบริการเหล่านั้นไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆในสังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ส่วนคำนิยามที่ได้รับความนิยมได้แก่คำนิยามของไลโอเนล รอบบินส์ (Lionel Robbins) ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือชื่อ An Essay o­n the Nature and Significance of Economic Science ว่าเศรษฐศาสตร์คือวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
ประยูร เถลิงศรี ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ หลักเศรษฐศาสตร์ ว่าวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาว่ามนุษย์เลือกตัดสินใจอย่างไรในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสิ่งของและบริการ และแบ่งปันสิ่งของและบริการเหล่านั้นเพื่ออุปโภคและบริโภคระหว่างบุคคล ต่างๆในสังคม ทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคต
มนูญ พาหิระ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ ทฤษฎีราคา ว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาในเรื่อง ที่เกี่ยวกับการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจมาทำการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองหรือบำบัดความต้องการของมนุษย์

เศรษฐศาสตร์