วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ุุบทที่6 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง การดำเนินการติดต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประกอบด้วย การค้า การลงทุน การเงิน

การรวมกลุ่มระหว่างประเทศ 
       การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่าง ๆ 
สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ 
1. ประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในด้านทรัพยากรธรรมชาติ 
2. ประเทศต่าง ๆ มีความสามารถในการผลิตไม่เหมือนกัน 
3. ประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ เช่น สภาพดิน สภาพอากาศ และภูมิประเทศต่างกัน
ประโยชน์การค้าระหว่างประเทศ 
1. เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ 
2. ทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำ 
3. เกิดการแข่งขันกันด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ
4. เกิดความชำนาญเฉพาะอย่างในการผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่อง


นโยบายการค้าระหว่างประเทศ 
1. นโยบายการค้าแบบเสรี 
นโยบายการค้าแบบเสรี หมายถึง นโยบายที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการค้าระหว่างประเทศแบบไม่มีข้อจำกัด เช่น ไม่มีการตั้งกำแพงภาษีขาเข้า ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า 
2. นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน หมายถึง นโยบายการค้าที่รัฐบาลมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อจำกัดการนำเข้าและส่งออก ของสินค้า เช่น การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดโควต้าการนำเข้าและส่งออก การสนับสนุนเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการผลิตสินค้าหลาย ๆ อย่างเพื่อใช้ภายในประเทศเอง


นโยบายการค้าของไทย 
1. นโยบายทดแทนการนำเข้า 

เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นในการผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศ เพื่อที่จะไม่ต้องพึ่งพาสินค้าจากต่างประเทศ 
2. นโยบายส่งเสริมการส่งออก
เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการส่งออกมากที่สุดและส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้


ภาวะการค้าต่างประเทศของไทย 

1. การส่งออก
ประเทศไทยเคยส่งออกข้าวและยางพาราเป็นสินค้าสำคัญ ปัจจุบันสินค้าที่ส่งออกสำคัญได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ,สิ่งทอ , อัญมณี , เครื่องประดับ เป็นต้น 
2. การนำเข้า 
ประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันการนำเข้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ได้แก่สินค้าประเภททุนและวัตถุดิบ 
3. ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
ในการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป อาเซียน ส่วนประเทศที่นำเข้าประเทศไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น


ดุลการค้าระหว่างประเทศ 
ดุลการการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าส่งออกกับมูลค่าสินค้านำเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี 

ประเภทของดุลการค้า 

1. ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าสินค้าส่งออกมากกว่าสินค้านำเข้า 
2. ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าสินค้าส่งออกน้อยกว่ามูลค่าสินค้านำเข้า 
3. ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าสินค้านำเข้าเท่ากับมูลค่าสินค้าส่งออก 

ดุลการชำระเงิน 
         ดุลการชำระเงิน หมายถึง บัญชีที่แสดงรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศภายในเวลา 1 ปี แบ่งเป็น 3 บัญชี คือ 
1. บัญชีเดินสะพัด< คือ บัญชีที่แสดงรายการรับ - จ่ายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ได้แก่ 
   - ดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าเข้าและมูลค่าสินค้าออก
   - ดุลบริการ คือ รายรับและรายจ่ายจากค่าขนส่ง บริการ ค่าประกันภัย เป็นต้น 
2. บัญชีเงินโอนและบริจาค เป็นบัญชีที่แสดงรายรับและรายจ่ายเกี่ยวกับเงินได้เปล่าของรัฐบาลและเอกชน 
3. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย เป็นบัญชีที่แสดงการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ 
4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นบัญชีแสดงยอดสุทธิระหว่างรายรับและรายจ่ายของประเทศ 

ลักษณะดุลการชำระเงิน 
1. ดุลการชำระเกินดุล หมายถึง รายรับมากกว่ารายจ่าย 
2. ดุลการชำระขาดดุล หมายถึง รายรับน้อยกว่ารายจ่าย 
3. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง รายรับเท่ากับรายจ่าย 

ความสำคัญของดุลการชำระเงิน และทุนสำรองระหว่างประเทศ 
1. มีผลต่อทุนสำรองระหว่างประเทศ คือถ้าดุลการชำระเกินดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ถ้าดุลการชำระขาดดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง 
2. ทุนสำรองระหว่างประเทศ ได้แก่ ทองคำ เงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือไว้ และทุนสำรอง I.M.F 

การแก้ไขดุลการชำระเงินขาดดุล

1. ลดการนำสินค้าเข้า 
2. ส่งเสริมให้มีสินค้าออกมากที่สุด 
3. ส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ 
4. ประชาชนไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 
5. ประชาชนไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 
6. ส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 
7. รัฐบาลควรลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 
8. กู้เงินจากต่างประเทศ


ปัญหาการค้าต่างประเทศของไทย 

       ปัญหาทางการค้าระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐอเมริกา คือ การกีดกันทางการค้า โดยสหรัฐอเมริกามีมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ 
- ห้ามการนำเข้า
- เพิ่มภาษีการนำเข้า 
- ตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (G.S.P) คือ สหรัฐอเมริกาให้สิทธิพิเศษในการลดหย่อนการเก็บภาษีการนำเข้าสหรัฐอเมริกาแก่ประเทศต่าง ๆ 
สหรัฐอเมริกาเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิพิเศษทางศุลกากร (G.S.P) ได้แก่ 
      1. ให้ปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า 
      2. ให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร เช่น คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ และสิทธิบัตรยา ซึ่งถ้ารัฐบาลไทยไม่ปฏิบัติตามจะมีผลต่อสิทธิพิเศษทางศุลกากร (G.S.P) 

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 
       อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง การเปรียบเทียบราคาของเงินตราประเทศหนึ่งกับเงินตราของอีกประเทศหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (I.M.F) ได้กำหนดไว้ ซึ่งจะมีผลต่อสินค้านำเข้า สินค้าส่งออก และดุลการค้าของประเทศ 
การลดค่าเงินบาทของไทย คือ เงินตราต่างประเทศแลกเงินไทยได้มากขึ้น เช่น 1 ดอลลาร์ 27 บาท เป็น 38 บาท 

ผลกระทบจากการลดค่าของเงิน
1. ราคาสินค้าไทยในต่างประเทศถูกลง 
2. ราคาสินค้าต่างประเทศในไทยสูงขึ้น 
3. คนต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มมากขึ้น 
4. คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศน้อยลง 
5. ชาวต่างประเทศมาลงทุนในไทยมากขึ้น 
6. ภาระหนี้สินของไทยกับต่างประเทศสูงขึ้น 

การเพิ่มค่าเงินบาท คือ เงินตราต่างประเทศแลกเงินไทยได้น้อยลง 
ผลกระทบจากการเพิ่มค่าของเงิน 
1. ราคาสินค้าของไทยในต่างประเทศสูงขึ้น 
2. ราคาสินค้าต่างประเทศในไทยถูกลง 
3. คนต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยน้อยลง 
4. คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น 
5. คนต่างประเทศมาลงทุนในไทยน้อยลง 
6. ภาระหนี้สินของไทยกับต่างประเทศลดลง


การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 
                การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ คือ การรวมตัวตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปเพื่อประสานผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระหว่างกลุ่มเดียวกัน แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 
     1. เขตการค้าเสรี หมายถึง ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกไม่มีการเก็บภาษีนำเข้า ไม่กำหนดโควตา แต่สามารถกำหนดอัตราภาษีแก่ประเทศที่ไม่เป็นสมาชิกได้ 
     2. สหภาพศุลกากร หมายถึง ประเทศสมาชิกเปิดการค้าเสรี แต่ประเทศนอกกลุ่มต้องตั้งกำแพงภาษีเหมือนกันหมด 
     3. ตลาดร่วม หมายถึง ประเทศสมาชิกทุกประเทศจะมีการเคลื่อนย้ายทุน สินค้า แรงงาน บริการ ได้โดยเสรี 
     4. สหภาพเศรษฐกิจ หมายถึง ประเทศสมาชิกต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจการค้า การลงทุน ร่วมกัน 
     5. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจแบบสมบูรณ์ หมายถึง การรวมตัวด้านการปกครอง เศรษฐกิจและการเมืองเหมือนกัน


การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
1. องค์การค้าโลก หรือ WTO 
       ได้พัฒนาขึ้นจากองค์การแกตต์ หรือข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดอุปสรรคทางด้านภาษีศุลกากรของการค้าระหว่างประเทศ 
2. เป็นเครื่องมือให้ประเทศภาคีสมาชิกปฏิบัติตาม 
3. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เจรจาไกล่เกลี่ยทางการค้าของประเทศภาคีสมาชิก ประเทศที่เป็นสมาชิกมีประมาณ 185 ประเทศ    ประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 87 
2. เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า (AFTA) 
        เป็นเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปลุ่มประเทศแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งขึ้น โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ของประเทศไทย 
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ประเทศสมาชิกลดอัตราภาษีสินค้าอุตสาหกรรมให้เหลือร้อยละ 0 - 5 ภายใน 15 ปี เริ่มจาก 1 มกราคม 2537 ถึง 1 มกราคม 2551 ประเทศสมาชิกประกอบด้วย อินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย 
3. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเซีย - แปซิฟิก หรือ เอเปค (APEC) 
       ก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการค้าเสรีและการลงทุนในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก 
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมการเปิดการค้าเสรีและการลงทุนในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิก สำหรับประเทศพัฒนาแล้วจะดำเนินการเปิดการค้าเสรีให้เสร็จในปี ค.ศ. 2010 และประเทศที่กำลังพัฒนาจะดำเนินการเปิดการค้าเสรีให้เสร็จในปี ค.ศ. 2020 
2. ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ เพื่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประเทศสมาชิกมีทั้งหมด 18 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงค์โปร มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี และไทย 
4. สหภาพยุโรป หรือ EU 
      เป็นการรวมตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เรียกว่า สหภาพยุโรป 
วัตถุประสงค์
ประชาคมยุโรป 15 ประเทศได้รวมตัวเป็นตลาดเดียว เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
- เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าของประเทศสมาชิกได้โดยเสรี 
- เพื่อประชากรของประเทศสมาชิกสามารถประกอบอาชีพข้ามชาติได้ เดินทางและตั้งถิ่นฐานต่างชาติได้ 
- มีการลงทุนในประเทศสมาชิกได้โดยเสรี 
- ใช้ระบบเงินสกุลเดียวกัน คือ เอกู ประเทศสมาชิกประกอบด้วย ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สเปน กรีซ โปรตุเกส สวีเดน ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น