วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 4 สหกรณ์

ทิศทางพัฒนาสหกรณ์ไทยในทศวรรษใหม่ ภายใต้แนวคิด "สมชาย ชาญณรงค์กุล"
"ขบวนการสหกรณ์" นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นแหล่งทุน แหล่งความรู้ แหล่งอาชีพและรายได้ของคนมากกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ ปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศจำนวนประมาณ 8 พันแห่ง โดยเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตรประมาณกว่าครึ่ง มีทุนดำเนินการสูงถึง 1.4 แสนล้านบาท ดัง นั้นจำเป็นที่กรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงชี้แนะแนวทางของ สหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมให้ถูกต้องตามหลักการสหกรณ์ นำมาสู่ความแข็งแกร่งของขบวนการสหกรณ์ไทยทั้งระบบ ควบคู่กับการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการสหกรณ์สู่สากล
   วันนี้...เราลองมาฟังนานาทัศนะในการพัฒนาและขับเคลื่อนขบวนการสหกรณ์ไทย ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ๆ เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจภายใต้โลกยุคใหม่ จาก"สมชาย ชาญณรงค์กุล" อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ หนุ่มใหญ่ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงอีกคนหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้นี้กันดู
ถึงแม้ว่าในช่วงปลายปี 2553 มีการตั้งเป็นกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอหลักๆ หรือยังตั้งอยู่ที่จังหวัด แต่กลุ่มหนึ่งมีเจ้าหน้าทีประมาณ 3 คน ดูแลครอบคลุมมากกว่า 1 อำเภอ หรือสูงถึง 5-6 อำเภอก็แล้วแต่เขตพื้นที่ การจัดอัตรากำลังแบบนี้ถ้าไม่มีระบบการทำงานที่ชัดเจน การทำงานโดยหวังให้เจ้าหน้าที่ทำงานมากขึ้นก็ไม่ได้เพราะมันไม่มีระบบ กระจุกกันอยู่ในอำเภอที่เป็นที่ตั้งของกลุ่ม
ช่วงท้ายปี 2554 ผมได้จัดระบบงานส่งเสริมสหกรณ์ขึ้นมาใหม่ โดยกำหนดรูปแบบการทำงานที่แน่นอน โปร่งใส ตรวจสอบ และวัดผลได้ มีการประเมินผลเป็นรายสหกรณ์ เรียกว่า CPD CARD นอกจากนี้ยังได้สร้างทีมครูฝึกที่เรียกว่า Trainer งานส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 108 คน จาก 27 จังหวัด ให้สามารถทำได้ตามระบบและเนื้อหาที่วิเคราะห์จริง เพื่อให้สหกรณ์ได้รับประโยชน์สูงสุด Trainer ทั้งหมดต้องลงไปปฏิบัติจริงในพื้นที่รับผิดขอบของตน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง จุดอ่อนของระบบที่ต้องปรับปรุง เพราะแต่ละสหกรณ์มีเงื่อนไข ข้อจำกัด และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ผมกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นวันดีเดย์ในการขยายผลไปทั่วประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น